หมวดหมู่: บทความ
ทำความรู้จักกับ CAD CAM
ในปัจจุบันเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ของผลงานทุกประเภทให้มีลักษณะการใช้งานที่ตรงตามไอเดียของผู้ผลิต ด้วยความคาดหวังเหล่านี้จึงทำให้เกิดนวัตกรรมการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์อย่าง NX เทคโนโลยีช่วยออกแบบ 3 มิติพร้อมควบคุมการผลิตใน Process เดียวกัน แล้วเทคโนโลยี CAD CAM และ CNC คืออะไร มีประโยชน์ต่อการสร้างผลิตภัณฑ์และสินค้าได้อย่างไร คอนเทนต์ Hitachi Sunway จะมาอธิบายให้เข้าใจเพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการได้รู้จักและรับรู้ถึง Solution ที่สามารถตอบโจทย์การผลิตได้ทุกอุตสาหกรรม
CAD CAM CNC คืออะไร?
CAD CAM CNC คือ เทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยวิธีการออก 3 มิติ โดยมี NX (ย่อมาจาก Next Generation) ที่เป็น Software Solution คือโปรแกรมพื้นฐานในการควบคุมและสั่งการทำงานต่าง ๆ ผ่าน Software เพื่อให้เป็น Solution ที่เข้ามาช่วยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรตั้งแต่ Industrial Design, Engineering Design ไปจนถึง Manufacturing
CNC CAD CAM ย่อมาจากอะไร?
- CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design
- CAM ย่อมาจาก Computer Aided Manufacturing
- CNC ย่อมาจาก Computer Numerical Control
ประสิทธิภาพการทำงานของ CAD CAM CNC
NX จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่ใช้งานต่อเนื่องกันคือ CAD CAM และ CNC โดยซอฟต์แวร์ทั้ง 3 ประเภทมีคุณสมบัติเฉพาะด้านที่เหมาะสำหรับกระบวนการผลิต พร้อมแนะนำถึงองค์ประกอบของ CAD CAM มีอะไรบ้างดังนี้
การทำงานของ CAD
CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design คือ Software ที่เน้นการออกแบบด้วยการขึ้นโมเดลจำลองแบบ 2D และ 3D ด้วยเทคโนโลยี Topology Optimization ก่อนนำไปผลิตจริง ต่างจาก CAM ที่เน้นในส่วนความคุมการผลิต ซึ่ง NX CAD เป็นSolution การออกแบบที่มีความยืดหยุ่นสูง โดยมีการนำเทคโนโลยี Convergent Modeling เข้ามาช่วยด้านการนำความสามารถของชิ้นงาน Solid, Surface และ Facet มาทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว
ข้อดีของ NX CAD คือมีเหมาะสมกับงานที่มี History Tree ซับซ้อน หรือชิ้นงานที่ไม่มี Parameter มาก่อน ร่วมกับเทคโนโลยี Synchronous มาช่วยในการแก้ไขหรือสร้างได้ทันทีที่ต้องการอีกด้วย
การทำงานของ CAM
CAM ย่อมาจาก Computer Aided Manufacturing คือ Software ใช้งานต่อเนื่องจาก NX CAD ซึ่งจะนำโมเดลที่ได้จากการออกแบบมาผลิตเป็นชิ้นงานจริง โดยผ่านการควบคุมการกระบวนการผลิตทั้งหมดจาก NX CAM ตั้งแต่การควบคุมเครื่องจักรและเครื่องมือการผลิต CNC, CMM, Robot, 3D Printer, Hybrid Machining รวมไปถึงการวางแผนการจัดการ การนับจำนวนชิ้นงาน และการจัดกับผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังมีฟังก์ชันการสร้าง Tool Path ที่ครอบคลุมการผลิตแบบครบวงจร พร้อมตรวจสอบการทำงานทั้งแบบจำลองและทำงานจริงด้วย Machine Tool Simulation ก่อนสั่งผลิตจริง
ความสามารถของ NX CAM มีหลายสิ่งที่ช่วยให้การผลิตทำได้ง่ายและมีความแม่นยำสูงไม่ว่าจะเป็น ควบคุมการตัดเฉือนด้วยความเร็วสูง, การควบคุมพื้นที่การกัดที่รวดเร็วแม่นยำ, ควบคุม Tool Path ให้ไหลลื่นเพื่อผิวงานที่มีความละเอียดสูง, กำหนดการกัดผิวงานที่มีความลาดชันที่แม่นยำเพื่อลดเวลาการใช้งานเครื่องจักร และได้งานที่ละเอียด เป็นต้น
การทำงานของ CNC
CNC (Computer Numerical Control) คือ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม หลายคนอาจมีคำถามว่าเครื่อง CNC ใช้กับโปรแกรมอะไร ต้องขออธิบายว่าเป็นการควบคุมในเชิงของตัวเลขในระบบคอมพิวเตอร์ในเครื่องจักรต่าง ๆ เป็นหลัก เช่น เครื่องกลึง เครื่องชุบ หรือกัดด้วยไฟฟ้า เป็นต้น โดยที่การผลิตนั้นจะเริ่มต้นจากการใช้ CAD ในการออกแบบชิ้นงาน ก่อนที่จะส่งต่อข้อมูลการออกแบบให้กับ CAM เพื่อสร้างเส้นทางเดินให้กับเครื่องมือขึ้นรูปงาน พร้อมปรับเปลี่ยนคำสั่งให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่แตกต่างกัน รวมถึงสร้าง G-code เพื่อกำหนดชุดคำสั่ง เพื่อให้เครื่องมือ CNC ผลิตชิ้นงานออกมาได้ตามการออกแบบ
ซึ่งประโยชน์ของ NX CNC นั้นสามารถช่วยให้เครื่องจักรผลิตตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีความแม่นยำสูง เป็นการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อลดความยุ่งยากในการควบคุมเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต อีกทั้งยังช่วยในการสำรองข้อมูล เพื่อใช้ในการนำข้อมูลเดิมกลับมาผลิตในครั้งต่อไปได้อย่างง่ายดาย รวมถึงยังสามารถคาดการณ์เวลา และคุณภาพในการผลิตได้อย่างเที่ยงตรง
CAD CAM CNC กับความสามารถที่ช่วยพัฒนางานออกแบบได้ตามต้องการ
ด้วยความสามารถ CAD CAM และ CNC ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นนวัตกรรมสำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แก่อุตสาหกรรมโรงงานโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายได้พัฒนาสินค้าของพวกเขาให้มีคุณภาพการผลิตตามที่พวกเขาตั้งใจทำให้มากที่สุด ด้วย Solution Software ที่ให้ทั้งความสะดวกในการควบคุมการผลิตในแต่ละขั้นตอนของเครื่องจักร พร้อมทั้งช่วยให้งานออกแบบมีความชัดเจนทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นโมเดลแบบ 2D และ 3D ช่วยให้เห็นตัวงานก่อนผลิตจริง และทำให้เห็นภาพรวมของการทำงานได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ถูกต่อยอดได้แบบไร้ขีดจำกัด
รับผลิตชิ้นส่วนโลหะตามแบบ ควบคุมงานโดยวิศวกรและทีมงานมืออาชีพ
หากท่านกำลังหาโรงกลึง หรือ ต้องการผลิตชิ้นส่วน สามารถติดต่อได้ที่
line : @mtmsupply หรือโทร 0814228821 K.Maytee 081-823-6895 k.ถวิล
กลึงงานชิ้นเดียว ไม่มีขั้นต่ำ มีบริการส่งทั่วไทย
มิลลิ่ง CNC
เครื่องมิลลิ่ง (Milling Machine)
เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นรูปและตัดวัสดุที่มีความแข็ง เช่น โลหะ ไม้ พลาสติก ทองเหลือง ฯลฯ โดยเครื่องมิลลิ่งสามารถเจาะ กัด ตัด เฉือน แกะ คว้าน ขจัดเศษวัสดุ และสร้างผิวเรียบบนชิ้นงาน
เครื่องมิลลิ่งมีความเที่ยงตรงและแม่นยำมาก จัดเป็นเครื่องจักรสำคัญในกระบวนการผลิต เครื่องมิลลิ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติผลิตชิ้นงานให้ออกมามีรูปร่างและขนาดตามที่บริษัทหรือโรงงานต่างๆ ต้องการ โดยการใช้ระบบคำสั่งจากคอมพิวเตอร์ เพียงผู้ใช้งานออกแบบ CAD Mode และแปลงไฟล์ CAD Model ให้พร้อมใช้งานกับเครื่องมิลลิ่ง จากนั้นป้อนคำสั่ง และสั่งการให้เครื่องมิลลิ่งทำงานตามระบบที่ตั้งค่าไว้
เครื่องมิลลิ่งใช้ในอุตสาหกรรมใดบ้าง
- อุตสาหกรรมพลังงาน : ใช้ในการผลิตวาล์ว เกียร์ กระปุกเกียร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมการแพทย์ : เหมาะสำหรับใช้ผลิตอุปกรณ์ปลอดเชื้อต่าง ๆ รวมถึงการสร้างแขนขาเทียมให้แก่ผู้ป่วย และชิ้นส่วนกระดูกเทียม
- อุตสาหกรรมยานยนต์ : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น ก้านลูกสูบ กระบอกสูบ ปั๊มน้ำ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมการเกษตร : ใช้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ภายในฟาร์ม
- อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมอวกาศ : ผลิตโครงสร้างเครื่องบิน ระบบส่งกำลัง ตัวถังเชื้อเพลิง ฯลฯ
- การทหาร : ผลิตปืนและส่วนประกอบของปืน
- อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า : นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาเครื่องมิลลิ่งเป็นอย่างมาก ในการผลิตมือถือ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป โทรทัศน์ ฯลฯ
ประโยชน์ของเครื่องมิลลิ่ง เครื่องกัด CNC เครื่องกลึง CNC
- เครื่องมิลลิ่งถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงทนทาน เพื่อรองรับชิ้นงานในแต่ละขนาดและน้ำหนัก ส่งผลให้สามารถกัดและกลึง โดยที่เครื่องมิลลิ่งไม่ได้รับ
- ผลกระทบหรือความเสียหายใดๆ
- ช่วยให้ประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น
- ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
- ลดโอกาสของการผลิตที่ผิดพลาดจากมนุษย์
- มีการตัดที่แม่นยำ
- มีโปรแกรม หรือตัวเลือกที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการกัด
- การใช้งานสามารถตั้งค่า หรือเลือกได้ เช่น ต้องการตัดได้หลายด้านพร้อมกัน หรือใช้ใบมีดในการตัดหลายอัน
ประเภทของเครื่องมิลลิ่ง เครื่องกัด CNC เครื่องกลึง CNC
- เครื่องมิลลิ่ง เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย CNC TURNING CENTERS เช่น Milling spindle, Second spindle, Y-axis เจเทค แมชชีนเนอรี่ มีให้เลือกทั้ง QTE-Series, QT-Primos series แบบ Turret type, Quick Turn series และรุ่นใหม่ล่าสุด QT-Compact series
- เครื่องมิลลิ่ง แนวตั้ง ซึ่งโดดเด่นทางด้านความแม่นยำสูง มีความเที่ยงตรง และละเอียด VERTICAL MACHINING CENTERS เจเทค แมชชีนเนอรี่ มีให้เลือกหลายรุ่น เช่น VC-PRIMOS 400L, VCN Series, FJV series ตั้งค่าเพียงครั้งเดียวสามารถกัดงานได้มากถึง 5 ด้าน
- เครื่องมิลลิ่ง แนวนอน เพื่อการกัดที่ทรงพลัง ประสิทธิภาพสูง HORIZONTAL MACHINING CENTER ขนาดโต๊ะงาน 400-1250 มม. เจเทค แมชชีนเนอรี่ จัดจำหน่ายรุ่นHCN-10800 และ 12800, HCN-Q series, HCN-u series
- เครื่องมิลลิ่งแนวตั้ง 5 แกน ด้วยคุณสมบัติกัดชิ้นงานได้หลายผิวหน้า 5 AXIS MACHINING CENTER เจเทค แมชชีนเนอรี่ มีให้เลือกสรรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น variaxis-c สูงทั้งแรงบิดและความเร็ว ใช้กับวัสดุได้หลากหลาย Vortex i-v series ที่มาพร้อมกับแกนหมุนแบบเอียง (tilting spindle) และโต๊ะหมุน (rotary table),Double Column Versatech V series สร้างชิ้นงานใหญ่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากโครงสร้างอันแข็งแรงและสปินเดิลทรงพลัง
- เครื่องมิลลิ่งเอนกประสงค์ รวมการทำงานสองอย่างไว้ด้วยกัน หรือทั้งกัดและกลึงได้ภายในเครื่องเดียว MULTI-TASKING MACHINE เจเทค แมชชีนเนอรี่ มีจำหน่าย 4 ซีรีส์ ได้แก่ Integrex i, Integrex i-200H ST, Integrex j และ Integrex i-V
เครื่องมิลลิ่งที่ทำงานได้มากกว่าการกัดและกลึง ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีการเติมเนื้อโลหะแบบ 3D กับเครื่องจักร CNC ทำให้ทำงานได้หลากหลายกว่าเครื่องมิลลิ่งทั่วไป ADDITIVE MANUFACTURING เจเทค แมชชีนเนอรี่ คัดสรรมาจำหน่าย 2 ซีรีส์ ได้แก่ Variaxis j-600/5X AM และ Integrex i-400 A
หากท่านกำลังหาโรงกลึง หรือ ต้องการผลิตชิ้นส่วนสามารถติดต่อได้ที่
line : @mtmsupply หรือโทร 0814228821 K.Maytee , 081-823-6895 k.ถวิล
ตัดเหล็กด้วยเลเซอร์ มีแม่นยำสูง บริการตัดเลเซอร์เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส
ตัดเหล็กด้วยเลเซอร์ ตัดอลูมิเนียม สแตนเลสด้วยเลเซอร์
ตัดเหล็กด้วยเลเซอร์ ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ เป็นการตัดโดยใช้ความร้อน หลอมเหลววัสดุ และทำให้กลายเป็นไอด้วยความร้อนจากแสงเลเซอร์ ทำให้เปลวที่ใช้ในการตัดเล็กและแคบ ร่องตัดมีขนาดเล็ก ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะต้องใช้แก๊สช่วยในการกำจัดเศษโลหะที่หลอมเหลวออก ข้อจำกัดจะเป็นเรื่องของความหนาของวัสดุ ตัดโลหะด้วยเลเซอร์ เหมาะกับงานที่ต้องการละเอียดสูง เพราะเป็นวิธีที่มีความคลาดเคลื่อนเพียง +/- 0.15 mm. เท่านั้น
ประเภทของเลเซอร์
เลเซอร์ที่ใช้สามารถแยกประเภท ได้ตามสารกำเนิด ได้แก่
CO2 Laser : เหมาะสำหรับใช้งานตัด งานสลัก งานเชื่อม งานคว้าน
Neodynium Laser : เหมาะสำหรับใช้งานเชื่อม งานคว้านที่ต้องใช้พลังงานสูง
Nd-YAG Laser : เหมาะสำหรับใช้งานสลัก งานเชื่อม งานคว้านที่ต้องใช้พลังงานสูง
ข้อดี-ข้อเสีย ของการตัดโลหะ ตัดเหล็กด้วยเลเซอร์
ข้อดี
- ตัดโลหะได้หลากหลาย สามารถตัดได้ทั้ง เหล็ก อะลูมิเนียม สแตนเลส และแผ่นผสม รวมถึงวัสดุที่ไม่โลหะอย่าง พลาสติก แก้ว ไม้ ก็ได้เช่นเดียวกัน
- ความเป็นอิสระของโครงสร้าง ลำแสงเลเซอร์จะถูกโฟกัสเฉพาะส่วน ทำให้วัสดุร้อนเฉพาะที่ ส่งผลให้ช่องว่างจากการตัดน้อยมาก สามารถตัดโครงร่างที่ซับซ้อนและมีลวดลายได้เรียบเนียน ไม่มีเสี้ยน
- ได้ขอบการตัดที่มีคุณภาพ เลเซอร์พัลส์สั้นมากทำให้วัสดุที่ถูกตัดกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว ไม่ส่งผลกระทบด้านความร้อน ทำให้ได้ขอบตัดที่มีคุณภาพสูง
- มีความแม่นยำสูง มีความคลาดเคลื่อนเพียง +/- 0.15 mm. เท่านั้น
- เกิดการสั่นสะเทือนต่ำ เกิดแก๊สน้อย
ข้อเสีย
- ราคาสูงกว่าการตัดแบบอื่นๆ
- จำกัดความหนาของวัสดุที่ใช้ตัด
- ไม่เหมาะกับการตัดวัสดุสะท้อนแสง
เลือกวิธีการตัดโลหะจากปัจจัยอะไรบ้าง?
- คุณสมบัติของวัสดุชิ้นงานที่จะตัด
- ความสามารถของเครื่องมือที่ใช้ตัด
- ต้นทุนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อวัสดุที่ใช้ตัด
- ระยะเวลา
หากท่านกำลังหาโรงกลึง หรือ ต้องการผลิตชิ้นส่วนสามารถติดต่อได้ที่
line : @mtmsupply หรือโทร 0814228821 K.Maytee , 081-823-6895 k.ถวิล
โรงกลึงสมุทรปราการ รับผลิตชิ้นงานตามแบบ
กลึงชิ้นส่วน กลึงCNC กลึงงานตามแบบ
การกลึงมีสองลักษณะ คือ
- การกลึงปาดหน้า โดยใช้มีดตัดชิ้นงานไปตามแนวขวาง (Across the work)
- การกลึงปอกคือ การเคลื่อนมีดตัดไปตามแนวขนาน กับแนวแกนของชิ้นงาน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการของการกลึงปอก คือ อัตราป้อน (Feed Rate) ความเร็วตัด (Cutting Speed) ระยะป้อนลึก (Depth of Cut) มีดกลึง (Cutting Tool) และชิ้นงานที่ต้องการทำการตัดเฉือน (Workpiece) และเมื่อมีกระบวนการในการกลึงปอกเกิดขึ้น ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ขนาดของชิ้นงาน (Workpiece Dimension) ความละเอียดของผิวชิ้นงาน (Surface Roughness) เศษกลึง (Chip) การสึกหรอของมีดกลึง (Tool Wear)
ในการกลึงปอกด้วยมีดกลึงอินเสิร์ทก็จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 5 ปัจจัยนี้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วในการกลึงปอกด้วยมีดกลึงอินเสิร์ทยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่สำคัญซึ่งควรนำมาพิจารณา ปัจจัยที่สำคัญทั้งหมดที่ใช้ในงานกลึงปอกด้วยมีดกลึงอินเสิร์ทมีดังต่อไปนี้
- เงื่อนไขของคมตัด (Edge condition)
- ความยาวของคมตัด (Edge length)
- วิธีการจับยึดชิ้นงาน (Work holding method)
- ส่วนประกอบของวัสดุ (Component material)
- ความหนาของเม็ดมีด (Insert thickness)
- เกรดของเม็ดมีด (Insert grade)
- อายุของการสึกหรอ (Wear lift)
- มุมตัด (Approach angle)
- กำลัง (Power)
- น้ำหล่อเย็น (Coolant)
- ต้นทุนของคมตัด (Edge cost)
- การหักเศษ (Chip breaker)
- รัศมีปลายมีด (Nose radius)
- มุมประกอบของใบมีดกลึง (Included angle)
- อัตราป้อน (Feed rate)
- ระยะป้อนลึก (Depth of cut)
- ความเร็วรอบ (RPM)
ความเร็วตัด (Cutting speed) คือความเร็วที่คมมีดกลึงตัด หรือปาดผิวโลหะออก เมื่อโลหะหมุนครบ 1 รอบคมมีดกลึงก็จะตัดโลหะเป็นแนวตัดยาวเท่าเส้นรอบวงพอดี ความเร็วตัดมีหน่วยเป็น เมตร/นาที หลักเกณฑ์การเลือกใช้ความเร็วตัดมีดังนี้ คือ
- วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือตัด (Cutting tools) ที่ทำมาจากเหล็กรอบสูง (High Speed Steel) สามารถใช้ความเร็วตัดเป็น 2 เท่า ของความเร็วตัดของมีดที่ทำมาจากวัสดุเหล็กคาร์บอน ส่วนวัสดุคมตัดที่มีส่วนผสมพิเศษออกไปสามารถใช้ความเร็วตัดได้กว่าเหล็กรอบสูง
- ชนิดของวัสดุ (Material) ที่จะนำมาทำการตัดเฉือน โดยทั่วๆไปวัสดุงานที่แข็งมากจะใช้ความเร็วตัดช้ากว่าวัสดุที่อ่อนกว่า
- รูปร่างของคมตัด ( Form Cutting Tool) มีผลต่อการทำงานมาก เช่น มีดตัดงานขาดจะใช้ความเร็วรอบต่ำกว่ามีดกลึงปอกผิว
- ความลึกในการตัด (Depth of Cut ) ถ้าป้อนตัดลึกจะใช้ความเร็วรอบน้อยกว่าป้อนตัดตื้น
- อัตราป้อน ( Rate of Feed) ในการป้อนตัดงานหยาบ เช่น อัตราป้อน 3 มม. ความเร็วที่ใช้ในการตัดจะต่ำกว่าการป้อนตัดขั้นสุดท้าย เช่น อัตราป้อนตัด 13 มม. เป็นต้น จะใช้ความเร็วรอบได้สูง
- การระบายความร้อน ( Cutting lubricant) ความเร็วตัดของวัสดุบางชนิดอาจเพิ่มให้สูงขึ้นได้เมื่อมีการระบายความร้อนที่ถูกต้อง ซึ่งสารระบายความร้อนนี้ จะช่วยรักษาอุณหภูมิของคมตัดไม่ให้ร้อนสูงเกินไปขณะทำงาน
- การจับงานให้มั่นคงแข็งแรง ( Rigidity of the Work) ในกรณีงานที่ถูกจับด้วยหัวจับ โผล่ออกมาสั้นๆจะใช้ความเร็วได้สูงกว่างานที่ถูกจับโผล่ออกมายาวๆ) ความสามารถของสภาพเครื่อง เครื่องที่แข็งแรงมีกำลังสูง สามารถใช้ความเร็วตัดได้สูง อย่างไรก็ตามอย่าใช้สูงจนคมตัดไหม้
กฎทั่วไปในการใช้ความเร็วตัด และอัตราป้อน
- ถ้าอัตราป้อน (มม./รอบ) เพิ่มSpeedความเร็ว (รอบต่อนาที) ต้องลดลงเมื่อความลึกของการตัดคงที่
- ถ้า Speed ความเร็ว เพิ่ม Feed อัตราป้อน ต้องลดลง เมื่อความลึกของการตัดคงที่
- ถ้าความลึกในการตัดเพิ่มขึ้น Speed ต้องลดลงเมื่อ Feed คงที่
ผลกระทบของความเร็วตัดที่มีต่ออายุการใช้งานของมีดกลึง ( Effect of Cutting Speed )
ในการขึ้นชิ้นงาน วัสดุงาน วัสดุมีด ขนาดของชิ้นงาน ฯลฯ ควรมีความเหมาะสมเพื่อการบริหาร ค่าใช้จ่าย คุณภาพงาน และเวลา เช่นถ้าใช้ความเร็วตัดสูงเกินไปก็จะทำให้มีดกลึงสึกหรอได้เร็วกว่าปกติ นั่นก็คืออายุการใช้งานของมีดกลึงสั้นลง ทำให้ต้องลับมีดบ่อยๆ และเสียเวลาในการทำงาน ซึ่งเป็นการลดประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มค่าใช้จ่าย
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วตัดและอายุการใช้งานของมีดกลึงนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้ ขณะที่ใช้ความเร็วตัดต่ำๆ การสึกหรอของมีดจะเป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิจากการเสียดสี ระหว่างมีดกลึงกับชิ้นงานจะมีค่าต่ำ แต่ถ้าใช้ความเร็วตัดสูงขึ้นความร้อนระหว่างผิวมีดกลึงกับชิ้นงาน และเศษตัดจะเกิดมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการสึกหรอที่บริเวณผิวของมีดกลึงกับชิ้นงานที่เสียดสีกัน ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของมีดกลึงสั้น
- หากท่านกำลังหาโรงกลึง หรือ ต้องการผลิตชิ้นส่วนสามารถติดต่อได้ที่
line : @mtmsupply หรือโทร 0814228821 K.Maytee , 081-823-6895 k.ถวิล
เฟืองโซ่ คืออะไร? กี่แบบ ? รับผลิตเฟือง กลึงเฟือง กัดเฟือง
เฟืองโซ่ (Sprocket)
เฟืองโซ่แผ่นเรียบ (Sprocket No Hub Extension) หรือ Type A
เฟืองโซ่ชนิดนี้มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมเรียบ ขอบโดยรอบหยักเป็นฟันเฟือง มีรูตรงกลาง ไม่มีดุมตรงกลาง ทำจากเหล็ก ใช้สำหรับติดหน้าแปลน หรือดุมล้อเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเครื่องยนต์
เฟืองโซ่มีดุม หนึ่งข้าง (Sprocket One Side Hub Extension) หรือ Type B
ลักษณะของเฟืองโซ่มีดุมชนิดนี้ มีรูปร่างเป็นกลม มีดุมยื่นออกมาด้านใดหนึ่งด้าน และมีรูกลางดุม ขอบหยักเป็นฟันเฟืองช่วยให้ติดตั้งเฟืองโซ่เข้ากับเครื่องจักรได้แน่นหนาขึ้น นิยมใช้กับงานที่มีความเร็วต่ำ ไปจนถึงความเร็วสูง หรือใช้เป็นเฟืองโซ่จักรยาน
เฟืองโซ่มีดุม สองข้าง (Sprocket Two Side Hub Extension) หรือ Type C
เฟืองโซ่ชนิดมีดุมสองข้างนี้ มีลักษณะเป็นวงกลม มีดุมยื่นออกมาสองด้านเท่ากัน ขอบหยักเป็นฟันเฟือง ทำจากเหล็ก เฟืองโซ่ชนิดนี้นิยมใช้กับเฟืองโซ่ตัวตาม (Driven Sprocket) ซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับงานโหลดหนัก งานความเร็วสูง แรงบิดสูง เช่น เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรมต่างๆ
หากท่านกำลังมองหา โรงกลึง ผลิตเฟือง สร้างเฟือง กัดเฟือง สามารถติดต่อได้ที่ Line : @MTMSUPPLY หรือ โทร 0814228821 เมธี
วิธีคำนวณน้ำหนักเหล็กแผ่น Plate
วิธีคำนวณน้ำหนักของเหล็กชนิดต่างๆ ดังนี้
1. เหล็กแผ่น คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดร้อนด้วยอุณหภูมิที่สูง จนกลายเป็น เหล็กแผ่นม้วนคุณภาพสูง ส่วนมากมักจะถูกนำมาตัดเป็นขนาดมาตรฐาน เช่น 4×8ฟุต, 5×10ฟุต จะมีสูตรในการคำนวณตามตัวอย่างนี้
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแผ่นขนาด 4×8ฟุต (น้ำหนักของเหล็กแผ่น = ความหนาของเหล็ก(มิลลิเมตร) x 23.33)
- เหล็กหนา 5 มิลลิเมตร x 23.33 = 65 กิโลกรัมต่อแผ่น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแผ่นขนาด 5×10ฟุต (น้ำหนักของเหล็กแผ่น = ความหนาของเหล็ก(มิลลิเมตร) x 5)
- เหล็กหนา 6 มิลลิเมตร x 5 = 219 กิโลกรัมต่อแผ่น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแผ่นขนาด 4×8ฟุต (น้ำหนักของเหล็กแผ่น = ความหนาของเหล็ก(มิลลิเมตร) x 23.33)
2. เหล็กแผ่นเพลท คือ การนำเหล็กแผ่นดำ SS400 คุณภาพดีมาตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมที่ต้องการด้วยเครื่องจักรประเภทต่างๆ เช่น ตัดเลเซอร์เหล็ก ตัดเหล็กด้วยแก๊ส รวมไปถึงการตัดด้วยเครื่อง hydraulic ตามขนาดที่ต้องการ
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลท (น้ำหนักของแผ่นเพลท = ความหนา(มิลลิเมตร) x ความกว้าง(เซ็นติเมตร) x ความยาว(เซ็นติเมตร) x 0.000785)
- แผ่นเพลท ขนาด 5 มิลลิเมตร x 10 เซ็นติเมตร x 20 เซ็นติเมตร => 5 x 10 x 20 x 0.000785 = 0.79 กิโลกรัมต่อแผ่น
- แผ่นเพลท ขนาด 25 มิลลิเมตร x 40 เซ็นติเมตร x 40 เซ็นติเมตร => 25 x 40 x 40 x 0.000785 = 4 กิโลกรัมต่อแผ่น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลท (น้ำหนักของแผ่นเพลท = ความหนา(มิลลิเมตร) x ความกว้าง(เซ็นติเมตร) x ความยาว(เซ็นติเมตร) x 0.000785)
3. เหล็กแผ่นเพลทสามเหลี่ยม คือ แผ่นเพลทเหล็กชนิดหนึ่งที่มีลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยม นิยมใช้เพิ่มความแข็งแรงของเสาโดยวิธีการเชื่อมติดกับเพลทเหล็กประเภทต่างๆ
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลทสามเหลี่ยม (น้ำหนักของแผ่นเพลทสามเหลี่ยม = ความหนา(มิลลิเมตร) x ความกว้าง(เซ็นติเมตร) x ความยาว(เซ็นติเมตร) / 2 x 0.000785)
- แผ่นเพลทสามเหลี่ยม ขนาด 6 มิลลิเมตร x 20 เซ็นติเมตร x 40 เซ็นติเมตร => 6 x 20 x 40 /2 x 0.000785 = 88 กิโลกรัมต่อแผ่น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลทสามเหลี่ยม (น้ำหนักของแผ่นเพลทสามเหลี่ยม = ความหนา(มิลลิเมตร) x ความกว้าง(เซ็นติเมตร) x ความยาว(เซ็นติเมตร) / 2 x 0.000785)
4. เหล็กเพลทกลม คือ แผ่นเพลทเหล็กชนิดหนึ่งมีลักษณะรูปทรงกลม เหมาะสำหรับปิดหัวเสา ปิดแป๊ปขนาดต่างๆ รวมไปถึงงานตกแต่งด้วย
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลทกลม (น้ำหนักของแผ่นเพลทกลม = ความหนา(มิลลิเมตร) x รัศมี(เซ็นติเมตร) x รัศมี(เซ็นติเมตร) x 0.00247)
- แผ่นเพลทกลม ขนาด 20 มิลลิเมตร x รัศมี 10 เซ็นติเมตร => 20 x 10 x 10 x 0.00247 = 94กิโลกรัมต่อแผ่น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลทกลม (น้ำหนักของแผ่นเพลทกลม = ความหนา(มิลลิเมตร) x รัศมี(เซ็นติเมตร) x รัศมี(เซ็นติเมตร) x 0.00247)
5. แผ่นเพลทเหล็กวงแหวน คือ การนำเหล็กเพลทกลมมาเจาะรูให้มีรูปทรงลักษณะคล้ายวงแหวน นิยมใช้เป็นแหวนรอง สตัด หรือ โบลท์แบบต่างๆ เช่น เจโบลท์ แอลโบลท์ ยูโบลท์
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลทวงแหวน (น้ำหนักของแผ่นเพลทวงแหวน = ความหนา(มิลลิเมตร) x (เซ็นติเมตร) – (เซ็นติเมตร) x 0.00247)
- เพลทวงแหวน ขนาด 8 มิลลิเมตร x รัศมี 10 เซ็นติเมตร x รูในรัศมี 6 เซ็นติเมตร => 8 x – x 0.00247 = 26กิโลกรัมต่อแผ่น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลทวงแหวน (น้ำหนักของแผ่นเพลทวงแหวน = ความหนา(มิลลิเมตร) x (เซ็นติเมตร) – (เซ็นติเมตร) x 0.00247)
6. เหล็กแบน คือ เหล็กที่มีลักษณะหน้าแคบ หรือเล็ก แต่มีความยาว 6 เมตร เหมาะสำหรับใช้กับงานเชื่อมทำเหล็กดัด งานฝาท่อ
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแบน (น้ำหนักของเหล็กแบน = ความหนา(มิลลิเมตร) x ความกว้าง(มิลลิเมตร) x 0.0471)
- เหล็กแบน ขนาด 6 มิลลิเมตร x กว้าง 50 มิลลิเมตร => 6 x 50 x 0471 = 14.3 กิโลกรัมต่อเส้น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแบน (น้ำหนักของเหล็กแบน = ความหนา(มิลลิเมตร) x ความกว้าง(มิลลิเมตร) x 0.0471)
7. เหล็กพับฉาก คือ การนำแผ่นเหล็กมาตัดพับตามขนาดที่ต้องการ สามารถพับได้ทั้งขนาดเท่ากันทั้งสองด้าน หรือขนาดไม่เท่าก็ได้
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กฉากพับ (น้ำหนักของเหล็กฉากพับ = ความหนา(มิลลิเมตร) x [ความกว้าง1(มิลลิเมตร)+ความกว้าง2(มิลลิเมตร) – 2 x ความหนา(มิลลิเมตร)] x 0.0471)
- เหล็กพับฉาก ขนาด 6 มิลลิเมตร กว้าง1 200 มิลลิเมตร กว้าง2 150มิลลิเมตร => 6 x [(200+100)-2 x 6] x 0471 = 81.3 กิโลกรัมต่อเส้น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กฉากพับ (น้ำหนักของเหล็กฉากพับ = ความหนา(มิลลิเมตร) x [ความกว้าง1(มิลลิเมตร)+ความกว้าง2(มิลลิเมตร) – 2 x ความหนา(มิลลิเมตร)] x 0.0471)
8. เหล็กพับตัวยู คือ การนำเหล็กแผ่นมาพับเป็นรูปทรงคล้ายตัวยู เรียกอีกอย่างว่า เหล็กพับรางน้ำ
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กพับตัวยู (น้ำหนักของเหล็กพับตัวยู = ความหนา(มิลลิเมตร) x [ท้อง(มิลลิเมตร)+ 2 x ปีก(มิลลิเมตร) – 4 x ความหนา(มิลลิเมตร)] x 0.0471)
- แผ่นเหล็กพับตัวยู ขนาด 4 มิลลิเมตร ท้อง 200 มิลลิเมตร ปีก 100มิลลิเมตร => 4 x [(200+2 x 100) – 4 x 4] x 0471 = 72.3 กิโลกรัมต่อเส้น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กพับตัวยู (น้ำหนักของเหล็กพับตัวยู = ความหนา(มิลลิเมตร) x [ท้อง(มิลลิเมตร)+ 2 x ปีก(มิลลิเมตร) – 4 x ความหนา(มิลลิเมตร)] x 0.0471)
9. เหล็กตัวซี คือ เหล็กชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาแปรรูปด้วยขั้นตอนการรีดร้อนให้มีลักษณะคล้ายตัว C นิยมใช้ในงานโครงสร้าง งานทำหลังคา
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กตัวซี (น้ำหนักของเหล็กตัวซี = ความหนา(มิลลิเมตร) x [ท้อง(มิลลิเมตร)+ 2 x ปีก1(มิลลิเมตร) + 2 x ปีก2(มิลลิเมตร) – 8 x ความหนา(มิลลิเมตร)] x 0.0471)
- เหล็กตัวซี ขนาด 4 มิลลิเมตร ท้อง 200 มิลลิเมตร ปีก1 100มิลลิเมตร ปีก2 25มิลลิเมตร => 4 x [(200 + 2 x 100 + 2 x 25) – 8 x 4] x 0471 = 78.7 กิโลกรัมต่อเส้น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กตัวซี (น้ำหนักของเหล็กตัวซี = ความหนา(มิลลิเมตร) x [ท้อง(มิลลิเมตร)+ 2 x ปีก1(มิลลิเมตร) + 2 x ปีก2(มิลลิเมตร) – 8 x ความหนา(มิลลิเมตร)] x 0.0471)
10. เหล็กเพลา คือ การนำเหล็กมาผ่านกระบวนการรีดร้อน และรีดเย็น เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เหล็กเพลาดำ ผลิตจากการรีดร้อน ส่วน เหล็กเพลาขาวเกิดจากการนำเหล็กเพลาดำมาผ่านกระบวนการรีดเย็น นิยมใช้สำหรับทำ สตัด เจโบลท์ แอลโบลท์ น๊อต สกรู ต่างๆ
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลา (น้ำหนักของเหล็กเพลา = (มิลลิเมตร) x 006167 x ความยาว(เมตร))
- เหล็กเพลา ขนาด 20 มิลลิเมตร ยาว 700 มิลลิเมตร => x 7 x 0.006167 = 1.72 กิโลกรัมต่อชิ้น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กเพลา (น้ำหนักของเหล็กเพลา = (มิลลิเมตร) x 006167 x ความยาว(เมตร))
11. เหล็กแป๊ปกลม คือ เหล็กรูปพรรณชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง ที่รับน้ำหนักไม่มากนัก
-
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแป๊ปกลม (น้ำหนักของเหล็กแป๊ปกลม = ( (มิลลิเมตร) – (มิลลิเมตร)) x 006167 x ความยาว(เมตร))
- เหล็กแป๊ปกลม ขนาดวงนอก 150 มิลลิเมตร วงใน 30 มิลลิเมตร ยาว 700 มิลลิเมตร => – x 7 x 0.006167 = 93.2 กิโลกรัมต่อเส้น
- สูตรคำนวณน้ำหนักของเหล็กแป๊ปกลม (น้ำหนักของเหล็กแป๊ปกลม = ( (มิลลิเมตร) – (มิลลิเมตร)) x 006167 x ความยาว(เมตร))
สรุป
เห็นได้ชัดว่า วิธีคำนวณน้ำหนักของเหล็ก นั้นถูกแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภทมากมายดังนั้น เราสามารถเรียนรู้ และคำนวณน้ำหนักของเหล็กประเภทต่างๆ ด้วยตนเองผ่านสูตรต่างๆ ตามบทความนี้ เพื่อที่จะให้ท่านสามารถคุยกับวิศวกร หรือช่างรับเหมาได้รู้เรื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หากท่านกำลังหาโรงกลึง หรือ ต้องการผลิตชิ้นส่วนสามารถติดต่อได้ที่
line : @mtmsupply หรือโทร 0814228821 K.Maytee 081-823-6895 k.ถวิล
วัสดุที่ทางเราให้บริการ
รับกลึงโลหะ พลาสติกวิศวกรรม ทุกประเภท
บริการงานกลึง CNC งานมิลลิ่ง(Milling) ด้วยเครื่องจักรทันสมัยความแม่นยำสูง ประเภทMachining Center รับผลิตชิ้นงานโลหะ,รับผลิตชิ้นส่วน,ผลิตอะไหล่ เครื่องจักร ,กลึงชิ้นงาน,รับขึ้นรูปเหล็ก ด้วยการเจียร คว้าน ปาด ,ตัดเลเซอร์ ,พับ ดัด ตัด เชื่อมประกบ โลหะ อีกทั้งยังมีบริการกัดเฟือง ,ผลิต/ซ่อมลูกกลิ้งอุตสาหกรรม รับทั้งยังรับงานMass Production และงานต้นแบบ Prototype ,งานซ่อมบำรุงอะไหล่เครื่องจักร , พลาสติกวิศวกรรม ควบคุมงานโดยวิศวกรและทีมงานมืออาชีพ
เราเป็น “โรงงานผลิตชิ้นส่วน” ในสมุทรปราการ ที่ได้คุณภาพมาอย่างยาวนาน
เหล็ก (SS400 S45C S50C SCM440 SKD11)
สแตนเลส (SUS304 SUS316 SUS416)
อลูมิเนียม (AL5052,5053,5083 AL6063 AL6061 AL7073 AL7075)
ทองเหลือง ทองเหลืองลายเสือ ทองแดง
พลาสติกวิศวกรรม PE , PP , Nylon , ยูรีเทน , ซุปเปอร์ลีน
หากท่านกำลังหาโรงกลึง หรือ ต้องการผลิตชิ้นส่วนสามารถติดต่อได้ที่
line : @mtmsupply หรือโทร 0814228821 K.Maytee 081-823-6895 k.ถวิล